โจทย์ ‘100วัน’รัฐบาลใหม่ เร่งฟื้นเศรษฐกิจชาติโตยืน 1

ในที่สุดคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคได้รับก็ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งตัวเลขที่ได้มายังตอกย้ำความไว้วางใจจากประชาชนเพื่อไปรับไม้ต่อบริหารประเทศในช่วง 4 ปีข้างหน้า ตามที่ประกาศนโยบายในช่วงหาเสียงเอาไว้ แน่นอน! เป็นที่จับตาว่า ท้ายที่สุดแล้วจะทำได้อย่างที่ประกาศไว้หรือไม่? ก็ต้องพิสูจน์กันต่อไป แต่ทว่าสิ่งที่ภาคเอกชนสนใจ และฝากความหวังให้ “รัฐบาลใหม่” ต้องเร่งมือทำในช่วง “100 วัน” มีอะไรบ้าง? ทาง “ทีมเศรษฐกิจ” ได้รวบรวมมานำเสนอให้แฟนประจำ “เดลินิวส์” ในวันนี้

เร่งฟื้นและกระตุ้นเศรษฐกิจ

“นายสนั่น อังอุบลกุล” ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าไทย ระบุว่า 100 วันแรก สิ่งที่ภาคเอกชนต้องให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งดำเนินการเป็นเรื่องนโยบายเศรษฐกิจปากท้อง ทั้งการฟื้นฟูและกระตุ้นไปพร้อมๆ กัน

ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคเอกชนกังวลมากที่สุด เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จากผลกระทบต่างๆ ที่ผ่านมา ทั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน หากจำเป็นต้องมีการปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายใหม่ ก็ควรเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จทันทีเพื่อให้เศรษฐกิจแต่ละพื้นที่เดินหน้าต่อไปได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ต้องเร่งบริหารจัดการราคาพลังงานที่เป็นต้นทุนสูง รวมถึงการดูแลต้นทุนต่างๆ ของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่เพิ่งฟื้นตัวจากโควิดให้ลดลงในระดับที่เหมาะสม ทั้งค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าแรงงาน และอัตราดอกเบี้ย ล้วนแต่ส่งผลต่อต้นทุนภาคธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนนโยบายที่พรรครัฐบาลได้ประกาศไว้ควรต้องมีแผนดำเนินการ และระบุแหล่งที่มาของงบประมาณอย่างชัดเจน ให้การใช้จ่ายและบริหารจัดการเป็นไปอย่างเหมาะสม และไม่ให้สร้างภาระทางการคลังให้แก่ประเทศในอนาคต  

อยากให้รัฐบาลใหม่ทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชน ทั้งเรื่องความยากง่ายในการทำธุรกิจ (อิส ออฟ ดูอิง บิสซิเนส) ซึ่งที่ผ่านมาเอกชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปลดล็อกกฎหมายและกฎระเบียบที่ล้าสมัย เพื่ออำนวยความสะดวก และตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันนี้เศรษฐกิจโลกยังผันผวนมาก หลายประเทศกำลังเผชิญปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาชาติเพื่อดึงดูดการลงทุนตรงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ลงทุนทางเศรษฐกิจอย่างอีอีซีขณะที่เอกชนภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยเห็นถึงโอกาสและการเติบโตได้อีกมาก หากรัฐบาลใหม่เข้ามาศึกษาแนวทางในการปรับปรุงกฎระเบียบให้มีความชัดเจนก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศได้อย่างมหาศาล”

อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารงาน ต้องไม่สร้างความขัดแย้งให้เกิดในสังคม มีแนวทางที่ชัดเจนในการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนของประเทศ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ที่ต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อเดินหน้าประเทศไปข้างหน้าอย่างมีเสถียรภาพและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

ด่วนๆ แก้หนี้ครัวเรือน

ด้าน นายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทยธนชาต หรือทีทีบี มองว่า ไม่ว่าจะพรรคไหนหรือรัฐบาลไหน
หรือจะกี่รัฐบาล สิ่งที่ต้องเร่งทำเร่งแก้ไขมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นเรื่องปัญหาหนี้ครัวเรือน และปัญหาปากท้องประชาชน เชื่อว่ารัฐบาลใหม่เข้ามาก็ต้องเร่งทำก่อน นอกจากนั้น การมีรัฐบาลใหม่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตไปข้างหน้า เพราะทุกวันนี้นักลงทุนไทยและต่างชาติต่างจับตารออยู่ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเติบโตต่อไปข้างหน้าได้

เช่นเดียวกับในส่วนของภาคธนาคาร ได้เร่งบริหารจัดการหนี้ของลูกหนี้ที่มีอยู่ผ่านมาตรการแก้หนี้ต่างๆ อย่างของธนาคารทหารไทยธนชาตได้มีบริการรวบหนี้ ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลไปรวมกับหนี้ที่อยู่อาศัย เพื่อให้ได้รับดอกเบี้ยถูกลงกว่าเดิม จากที่เคยเห็นลูกหนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยเฉลี่ย 20% รวมบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล แต่หากมารวบหนี้กับสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งช่วยลดภาระหนี้คนไทยเหลือแค่ 6% ต่อปีเท่านั้น นับว่าปัจจัยเรื่องดอกเบี้ยมีผลมากต่อการตัดสินใจในช่วงที่ดอกเบี้ยกำลังขาขึ้นตอนนี้

นอกจากนี้ การรีไฟแนนซ์หนี้ ยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ให้คนเป็นหนี้ตัดสินใจลดภาระดอกเบี้ย และธนาคารยังช่วยคนมีหนี้ที่เป็นมนุษย์เงินเดือนรับเงินเดือนกับทีทีบี มีสินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ดอกเบี้ยเริ่มต้น7.99%ต่อปี ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระให้กับพนักงานเงินเดือนและเสริมสภาพคล่อง และยังรวบหนี้ถึง4รายการทั้งบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อที่อยู่อาศัย

ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินอันเนื่องมาจากภาระหนี้ โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนของคนไทยมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต หรือ หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งจากผลสำรวจของ ไพร้ซ์ วอเตอร์เฮ้าส์ คูเปอร์พบว่าปัญหาทางการเงินของพนักงานเงินเดือนส่งผลเสียต่อองค์กร โดย 69% จะรู้สึกมีคุณค่ากับองค์กรน้อยลง 42% เริ่มมองหางานใหม่ 35% รู้สึกไม่อยากมาทำงาน และ 41% รู้สึกกระทบกับประสิทธิภาพในการทำงาน”

จัดระเบียบแข่งขันค้าปลีก

นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งและค้าปลีกไทย บอกว่า สิ่งที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ หรือรัฐบาลชุดใหม่ต้องทำในช่วง 100 วันแรก หลังจากการเลือกตั้ง คือ ในส่วนของค้าปลีก อยากให้เน้นเรื่องผู้ประกอบการรายย่อยที่ใช้โครงสร้างภาษีเช่นเดียวกับรายใหญ่ โดยให้ประชาชนร้านค้ามีวิธีการหาเงินใช้ชีวิตได้สมศักดิ์ศรี และควรเปลี่ยนกติกาการแข่งขันรายเล็กและรายใหญ่ควรใช้มาตรฐานการส่งเสริมที่แตกต่างกัน

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาที่มีการเปิดประเทศจะเห็นว่าทางรัฐบาลได้มีการส่งเสริมเฉพาะรายใหญ่ โดยได้มีการส่งเสริมบีโอไอ การลงทุนให้กับรายใหญ่มาโดยตลอด ขณะที่รายย่อยใช้โครงสร้างภาษีเดียวกับรายใหญ่ แต่ไม่ได้รับสิทธิต่างๆ ทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เสมอภาคกัน เปรียบเสมือนรายใหญ่ได้กติกาที่ดีกว่า โดยเชิญนักมวยเข้ามาฝึกสอน มีการเทรนด์ที่ดีกว่าแล้วมาแข่งขันกับธุรกิจในท้องถิ่นซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ไม่ได้รับการส่งเสริมใด ๆ เลย

จึงอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในด้านกติกาการแข่งขันระหว่างรายเล็กกับรายใหญ่เพื่อให้รายเล็กยืนหยัดและสู้ได้โดยรัฐบาลต้องทำกติกาให้สมดุลกัน

ขณะเดียวกันผู้สูงอายุอย่าประเมินว่า หากให้เงินแล้วทำให้คนเหล่านั้นอยู่ได้ เพราะแม้จะอยู่ได้จริงแต่อยู่แบบไม่มีศักดิ์ศรีจึงควรให้สิทธิพิเศษการทำงานแก่คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ดีกว่าไปแจกเงิน เพื่อให้ประเทศไทยได้นำภาษี หรือศักยภาพของคนสูงวัยสร้างให้เกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจและบ้านเมือง นอกจากนี้ต้องปลดล็อกระบบการผูกขาดสุราของรายใหญ่เพื่อให้รายเล็กสามารถเข้าไปร่วมแข่งขันได้

สร้างบรรยากาศสมานฉันท์

ขณะที่ นายอานนท์ วังวสุ ประธานกรรมการ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด มองว่า หลังจากที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งแล้วต่อให้ได้ฝ่ายไหนเข้ามา สิ่งที่ควรทำอันดับแรก คือการสร้างบรรยากาศบ้านเมืองให้กลับมามีความสมานฉันท์ พร้อมที่จะต้อนรับการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกลับเข้ามาในประเทศโดยเร็ว

เพราะในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งยังมีบรรยากาศการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นอยู่ ประกอบกับปัจจุบันเศรษฐกิจโลกก็ยังไม่ดี หากบรรยากาศภายในประเทศไม่ดีอีกก็อาจมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนด้วย ดังนั้น จึงอยากให้ทุกคนทุกฝ่าย ช่วยกันเคารพกติกาเมื่อได้รัฐบาลใหม่มา ก็ควรจะให้ทุกฝ่ายยอมรับเพื่อให้เดินหน้าเริ่มทำงานโดยเร็วที่สุด ไม่ควรมีการเล่นเกมการเมืองนอกกติกาอะไรออกมาอีก 

สิ่งต่อมาที่ควรทำ คือการเร่งเดินหน้าจัดทำงบประมาณปี 67 ให้เสร็จโดยเร็ว เพราะขณะนี้งบประมาณประจำปีจะออกมาล่าช้าหลายเดือน และรัฐจะใช้เงินได้เฉพาะค่าใช้จ่ายทั่วไป เช่น ค่าน้ำค่าไฟ เงินเดือนข้าราชการเท่านั้น แต่โครงการลงทุนใหม่จากภาครัฐจะขับเคลื่อนไม่ได้เลย ซึ่งตรงนี้หากปล่อยให้งบประมาณล่าช้าไปนานๆ จะไม่เป็นผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจ เพราะการเบิกจ่ายของรัฐก็ถือว่ามีส่วนมากต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ  

ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ควรมาดูแลแก้ปัญหาค่าครองชีพ เช่น ราคาพลังงานให้เหมาะสม ส่วนนโยบายการแจกเงิน ประชานิยมต่างๆ ของพรรคที่จะเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลนั้น ก็เข้าใจว่ามีความจำเป็นต้องทำ เพราะเป็นเรื่องที่หาเสียงไว้ อย่างไรก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน จึงอยากให้รัฐบาลช่วยจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ด้วย เพราะทุกวันนี้ประเทศก็มีงบประมาณจำกัด ควรจะให้ในสิ่งที่จำเป็นก่อน รวมถึงไม่ควรมีการแจกเงิน ช่วยเหลือซ้ำซ้อน ตลอดจนไม่ควรแจกเงินอย่างเดียว ควรจะมีการส่งเสริมสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนกลุ่มนี้ ให้หลุดพ้นความยากจนไปด้วย  

เร่งพัฒนาทักษะดิจิทัล-ภาษา

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี)ในฐานะประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สภาดิจิทัลฯได้นำเสนอยุทธศาสตร์7ข้อจากมุมมองภาคเอกชนในอุตสาหกรรมดิจิทัลเพื่อนำเสนอให้กับรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ เพื่อพัฒนาสู่ประเทศไทย5.0 โดยสิ่งที่อยากให้รัฐบาลใหม่เร่งขับเคลื่อนเป็นอันดับแรก คือ การปฏิรูปการศึกษาเพราะการพัฒนาทักษะทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งคนไทยขาดทักษะด้านดิจิทัลและภาษา จึงควรกำหนดให้การเรียนภาษาและคอมพิว เตอร์เป็นวิชาพื้นฐานภาคบังคับ ตั้งแต่ ป.1 ถึงมหาวิทยาลัย

รวมถึงผลักดันการแจกคอมพิวเตอร์ให้เด็กและเยาวชนในระบบการศึกษาจำนวน 7 ล้านเครื่อง โดยจะใช้งบประมาณปีละ 7,000  ล้านบาท จากงบด้านการศึกษาปีละ 6 แสนล้านบาทที่รัฐบาลจัดสรรและต้องมีซอฟต์แวร์คัดกรองเนื้อหาที่ดี มีการสอนเรื่องจริยธรรมด้านดิจิทัลเพื่อให้เด็กๆ ทุกคนได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการเข้าถึงการค้นคว้าวิจัยพัฒนานวัตกรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเด็กเหล่านี้จะเป็นผู้ขับเคลื่อนประเทศ ช่วยให้ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงได้อย่างแน่นอน

ควรปลูกฝังความเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่ระดับนักเรียน นักศึกษา รวมทั้งส่งเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษ และภาษาจีนก่อนเข้าสู่โลกธุรกิจจริงในอนาคตระดับโรงเรียนต้องสร้างแหล่งเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ระดับมหาวิทยาลัยต้องมีศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรม และในระดับเมืองควรเป็นคลัสเตอร์แห่งเทคโนโลยี และนวัตกรรมสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นรากฐานสำคัญให้เกิดการพัฒนาทักษะดิจิทัลในทุกระดับ”

นอกจากนี้ รัฐควรผลักดันนโยบายที่สนับสนุนดิจิทัล คอนเทนต์คุณภาพของไทยด้วยการสร้างอัตลักษณ์คุณค่าทางวัฒนธรรมไทยผสมผสานทั้งสื่อวัฒนธรรมและเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกันด้วยการทำคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ด้วยการสร้างแรงจูงใจให้เงินทุนสนับ สนุนเช่น หากเป็นละครหลังข่าวอาจจะสนับสนุนงบเรื่องละ50ล้านบาท คาดว่าจะใช้งบประมาณ1,200ล้านบาทต่อปีเชื่อว่าผู้จัดละครยินดีสนับสนุนที่จะผลิตคอนเทนต์ที่มีคุณภาพแบบนี้ จะช่วยทำให้ประเทศสามารถหล่อหลอมวัฒนธรรมที่ดีงามควบคู่ไปกับเทคโนโลยี ถือเป็นการขับเคลื่อนวัฒนธรรมของชาติให้ออกสู่เวทีโลกหรือนำซอฟต์พาวเวอร์ไทยไปตีตลาดยังต่างประเทศได้ด้วย

หนุนท่องเที่ยวอย่างไร้รอยต่อ

นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) บอกว่า นายกรัฐมนตรีจะต้อง ดึงท่องเที่ยวมาบริหารด้วยตัวเอง และสั่งการให้หน่วยงานต่างๆ ไปบูรณาการให้เหมาะสมกับงานเพื่อให้งานเดินไปได้เร็ว เพราะตอนนี้ภาครัฐมีปัญหาติดขัดหลายอย่าง งานเดินช้าเพราะการทำงานที่ไม่เชื่อมโยงกันของหน่วยงานราชการ สิ่งที่อยากให้รัฐบาล ใหม่ต้องเร่งทำมี 5 เรื่องหลัก คือ…

ข้อแรก แก้ปัญหาโรงแรมขนาดเล็กที่ยังไม่มีใบอนุญาตเนื่องจากติดขัดข้อจำกัดของกฎหมาย ทำให้คนตัวเล็กไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้เพื่อที่จะทำให้เขามีโอกาสเข้าถึงตลาดมากขึ้น จึงเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่แก้กฎหมายอย่างเป็นธรรม แยกกฎหมายโรงแรมขนาดใหญ่และโรงแรมเล็กออกจากกันเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เพราะปัญหาเหล่านี้เรื้อรังมานานแล้วตั้งแต่รัฐบาลก่อนๆ หน่วยงานภาครัฐได้แต่พูดแต่ไม่เคยลงมือทำ

ข้อสอง ต้องซ่อมสร้างคน-แหล่ง คือการอบรมบริกร บุคลากรท่องเที่ยว และปรับปรุงห้องน้ำ สถานที่จอด ท่าเรือ

ข้อสาม เติมแรงงานให้กับภาคส่วนการท่องเที่ยวหากได้เร็วยิ่งดี เพราะตอนนี้แรงงานภาคบริการยังขาดคน และช่วงไฮซีซั่นตรงกับเดือน ต.ค. นักท่องเที่ยวระยะไกลจากยุโรป อเมริกา และภูมิภาคอื่นๆ จะหนีหนาวมาเที่ยวไทย ดังนั้นช่วงเวลานี้จะต้อง เตรียมคนให้พร้อม โดยใช้โรงแรมเป็นโรงเรียนอบรมแรงงานเพื่อเพิ่มทักษะให้กับแรงงานใหม่ และรีสกิลแรงงานเดิม ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เราพูดมาตลอด และเป็นโจทย์ที่รัฐบาลใหม่จะต้องเร่งทำเพื่อให้ภาคการท่องเที่ยวไทยพร้อมที่จะรองรับนักท่องเที่ยว เพราะภาคการท่องเที่ยวเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาล คำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น

ข้อสี่ เติมความรู้เรื่องการใช้นวัตกรรมให้กับภาคอุตสากรรมท่องเที่ยวเพื่อความรวดเร็วในการให้บริการลูกค้า และเพิ่มการเข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น และสุดท้ายจัดตั้งทัวริสซึมคลินิก โดยความร่วมมือกับรัฐและเอกชน จัดตั้งคลินิกทั่วประเทศไว้ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการท่องเที่ยว อาทิ ข้อกฎหมายการสร้างโรงแรม การออกแบบโรงแรม การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การจ้างแรงงาน เป็นต้น โดยเจ้าหน้าที่ประจำคลินิกจะเป็นผู้รับเรื่องแล้วรวบรวมข้อมูลเข้าระบบข้อมูลส่วนกลางที่เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลกับทุกหน่วยงาน ทุกกระทรวงเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่ถูกจุดและรวดเร็วยิ่งขึ้น และนายกฯ ในฐานะประธานบอร์ดท่องเที่ยวก็จะสามารถเป็นผู้สั่งการให้งานเดินหน้าไปได้เร็ว พร้อมเห็นปัญหาของคนท่องเที่ยวอย่างแท้จริงไม่ใช่นั่งมโนแล้วสั่งการ

แน่นอน! สิ่งที่เรียกร้องให้รัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งเป็นความหวังอีกครั้งของภาคเอกชน ส่วนใหญ่ไม่ได้มากกว่าเดิม เพิ่มเติมคือต้องการให้เห็นเป็นรูปธรรม แก้ปัญหาได้ตรงจุด การกินดีอยู่ดีและนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชาติในที่สุด นั่นคือเสียงเรียกร้องที่เป็นการบ้านชิ้นสำคัญของว่าที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องฟัง!คำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด!!.

ทีมเศรษฐกิจ